ข้อมูลด้านการให้บริการ
บริการด้านการเลี้ยงดู
- จัดให้มีที่พักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น ทางลาด ราวเกาะ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อสภาพความพิการ
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง
- จัดบริการอาหาร ๓ มื้อ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
- จัดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนเครื่องนอน สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
- ดูแลสุขอนามัยโดยทั่วไปรวมถึงกิจวัตรประจำวัน และให้ความช่วยเหลือกรณีที่เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
การบริการทางแพทย์และพยาบาล
- ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่เด็กที่มีอาการเจ็บป่วย
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง
- ตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทาง
- ดูแลรักษาพยาบาลเด็กที่เจ็บป่วยตามคำสั่งแพทย์อย่างใกล้ชิด
- บริการทางการแพทย์เฉพาะทางที่จำเป็นต่อเด็ก เช่น ตรวจรักษาสุขภาพช่องปาก, ตรวจวัดสายตา, ตรวจวัดระดับการได้ยิน ฯลฯ
- ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ตลอดจนให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง และเด็กในความอุปการะในการป้องกันโรคต่างๆ และปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ
การบริการด้านสังคมสงเคราะห์
- ให้คำแนะนำปรึกษาตลอดจนให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสมแก่ผู้ขอรับบริการเกี่ยวกับปัญหาด้านเด็กพิการทางสมองและปัญญา
- จัดทำทะเบียนประวัติ ตลอดจนเอกสารสำคัญของเด็กในความอุปการะ ได้แก่ สมุดทะเบียนคนพิการ, บัตรประจำตัวประชาชน, ขอร่วมใช้นามสกุล, ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน, เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เป็นต้น
- ให้การดูแลด้านสวัสดิการสังคม ปกป้องพิทักษ์สิทธิต่างๆ
- ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหา และหาวิธีการปรับพฤติกรรมของเด็กให้เป็นตามแนวทางที่เหมาะสมด้วยวิธีการทางสังคมสงเคราะห์
- คัดเลือกเด็กที่มีความพร้อมและความเหมาะสม ในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์
- สร้างความเข้าใจ ประสานงาน ติดตามครอบครัวของเด็กที่ได้รับการฟื้นฟูพัฒนาในระดับหนึ่ง เพื่อทดลองอยู่ร่วมกับครอบครัว ก่อนส่งกลับคืนสู่ครอบครัวโดยถาวรต่อไป
โครงการส่งเด็กทดลองงานภายนอก
โครงการส่งเด็กทดลองงานภายนอก ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยมีการประสานงานกับครอบครัวอุปถัมภ์ สร้างความเข้าใจถึงลักษณะพิเศษของเด็กในสถานคุ้มครอง มีขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมของครอบครัว การเยี่ยมบ้าน การติดตามประเมินผล ด้วยวิธีการทางสังคมสงเคราะห์
บริการฟื้นฟูสมรรภาพทางร่างกาย
- ตรวจประเมินสภาพความพิการเพื่อวางแผนการรักษาทางกายภาพบำบัด
- ให้การรักษาฟื้นฟูสภาพความพิการของเด็กที่ปรากฏ ด้วยอุปกรณ์และวิธีการทางกายภาพบำบัด
- ป้องกันมิให้เกิดความพิการกับเด็กเพิ่มขึ้น ด้วยกิจกรรมหรือแผนการรักษาทางกายภาพบำบัดทั้งในรูปแบบกลุ่ม และเฉพาะราย
- ฝึกให้เด็กเกิดทักษะความชำนาญต่อการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กกลุ่มที่มีความพิการทางกาย
- จัดหากายอุปกรณ์ เครื่องช่วยเหลือ อุปกรณ์เสริมต่างๆ ให้เหมาะสมตามสภาพความพิการ
ประเภทการรักษาทางกายภาพบำบัด
นั่ง conner sect, ดัดยืดกล้ามเนื้อ, ลดเกร็ง, ฝึกชันคอ, ฝึกคลาน, ฝึกลุกนั่ง, ฝึกนั่งทรงตัว, ฝึกยืนเข่า, ฝึกยืน, ฝึกก้าวขา, ฝึกเดิน-ขึ้นลงบันได, ฝึกเดิน, ฝึกกิจกรรมบำบัด, ฝึกรับประทานอาหาร, กิจกรรมนันทนาการ, อุลตาซาวด์, ประคบแผ่นร้อน, ธาราบำบัด, กิจกรรมนอกสถานที่/อาชาบำบัด, Suspension, บ็อคเซีย (Boccia)
บริการด้านฝึกอาชีพ
- คัดเลือกและประเมินศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถ ความถนัด หรือมีความสนใจในการประกอบอาชีพเข้ารับการฝึกทักษะทางอาชีพ
- บริการจัดฝึกทักษะทางวิชาชีพด้านต่างๆ ได้แก่ งานโภชนาการ, งานซักรีด, งานดอกไม้ประดิษฐ์, งานทอเสื่อ, งานสานตะกร้าจากสมุดโทรศัพท์ และงานฝีมือต่างๆ
- จัดหาอาชีพที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล โดยจัดให้มีการทดลองฝึกอาชีพ ทำงานกับนายจ้าง หรือครอบครัวอุปถัมภ์ พร้อมประเมินความสามารถในการปรับตัวอยู่ร่วมกับครอบครัวนายจ้าง
ประเภทการฝึกวิชาชีพ
งานดอกไม้จันทน์, งานโภชนาการ, งานพรมเช็ดเท้า, งานทอเสื่อ, งานเทียน, งานรีดผ้า, งานสานตะกร้า, งานการบูร, งานกระดาษทิชชู
การส่งเสริมทางพัฒนาการด้านต่างๆ
- คัดเลือกเด็กตามกลุ่มความพิการ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ
- จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มความพิการ เพื่อกระตุ้นฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัย ฝึกทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การสวมใส่เสื้อผ้า ตลอดจนสอนให้รู้จักมารยาททางสังคมเบื้องต้น
- ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมสังคมภายนอก และได้สัมผัสประสบการณ์จริง โดยการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม ทัศนศึกษา และการนำเด็กเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆจัดขึ้น เช่น งานวันคนพิการแห่งชาติ งานวันเด็กแห่งชาติ
- จัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ให้กับเด็กเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด และจัดกิจกรรมตามเทศกาลวันสำคัญต่างๆ วันสำคัญทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม และให้เด็กได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทย
ทักษะกลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่, ทักษะกลไกกล้ามเนื้อมัดเล็ก, ทักษะทางกิจวัตรประจำวัน, ทักษะทางสังคม, ทักษะทางภาษา-การพูด, ทักษะการใช้สติปัญญา, ทักษะทางอารมณ์, ชั้นเรียนพิเศษเสริมทักษะ, เตรียมความพร้อมทางการศึกษา, ดนตรีบำบัด
การส่งเสริมการศึกษา
- คัดเลือกเด็กตามความเหมาะสม เพื่อเข้ารับการประเมินระดับสติปัญญาและความสามารถทางการศึกษา
- บริการด้านการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กในความอุปการะ ทั้งในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และในระบบโรงเรียนศึกษาพิเศษ ของกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ ปูพื้นฐานทางการศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย
- ประสานกับสถานศึกษาต่างๆ เพื่อส่งเด็กเรียนร่วมภายนอกสถานคุ้มครอง
สถานศึกษาที่ส่งเด็กเรียน
โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์, โรงเรียนศรีสังวาลย์, โรงเรียนโสตศึกษานครปฐม, โรงเรียนประชาบดี, โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล, โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล, การศึกษานอกโรงเรียน
การส่งเสริมด้านกีฬา
- ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เน้นการบริหารร่างกายทุกส่วนให้เหมาะสมตามศักยภาพ
- ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาประเภทต่างๆ เช่น แบดมินตัน, บาสเก็ตบอล, ว่ายน้ำ, กรีฑา, บ็อคเซีย(Boccia) คือ กีฬาเฉพาะสำหรับผู้พิการทางสมอง (Cerebral Palsy : CP) โดยมีอุปกรณ์การเล่นเฉพาะและกติกาคล้ายเปตอง และจัดให้มีกิจกรรมกีฬาสีประจำปี
- มีการคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถโดดเด่นทางกีฬา และจัดฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งในระดับระหว่างหน่วยงาน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
ประเภทกีฬาที่ฝึกซ้อม
ทักษะพื้นฐานกีฬา, ทักษะออกกำลังกาย, กรีฑา, เปตอง, เทเบิ้ลเทนนิส (ปิงปอง), แบดมินตัน, เทนนิส, ว่ายน้ำ, บ็อคเซีย(Boccia)
ตารางแสดงการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระดับประเทศและระดับนานาชาติ
รายการ | สถานที่ | วันที่แข่งขัน | จำนวนเด็ก |
---|---|---|---|
มหกรรมกีฬาคนพิการ | จ.อ่างทอง | ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ | ๔ |
กีฬาสเปเชียลโอลิมปิกแห่งชาติ | สาธารณรัฐประชาชนจีน | ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐ | ๓ |
กีฬาคนพิการ | จ.นครศรีธรรมราช | ๑๙-๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ | ๒๑ |
อาเซียนพาราเกมส์ | จ.นครราชสีมา | ๒๐-๒๖ มกราคม ๒๕๕๑ | ๔ |
กีฬานักเรียนคนพิการ | กรุงเทพฯ | ๒๖-๑ กันยายน ๒๕๕๑ | ๒๐ |
กีฬาเยาวชนโลก | อังกฤษ | ๒๕ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ | ๑ |
กีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๗ | จ.นครศรีธรรมราช | ๒๘ กุมภาพันธ์ - ๗ มีนาคม ๒๕๕๙ | ๓๒ |
กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ | จ.นครสวรรค์ | ๑๓-๑๗ มกราคม ๒๕๕๙ | ๑๗ |
กีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๙ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต | ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ | ๑๒ |
กีฬาเปตองปากเกร็ดคัพ ครั้งที่ ๕ | ่เทศบาลปากเกร็ดร่วมกับสมาคมกีฬาคนพิการจังหวัดนนทบุรี | ๑๑-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ | ๑๐ |
กีฬาการเต้นแอร์โรบิคส์ การแข่งขันทักษะกลไก (MATP) สเปเชียลโอลิมปิค ประเทศไทย | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต | ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ | ๑๐ |
กีฬาฟุตบอลสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต | ๒๗-๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ | ๘ |
การแข่งขันกรีฑทคนพิการทางปัญญาชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๒ | สนามกีฬาแห่งชาติปทุมวันกรุงเทพ | ๒๖-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ | ๑๔ |
กีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๘ | ่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ80พรรษา จังหวัดนครราชศรีมา | ๑-๖ มีนาคม ๒๕๖๐ | ๓๒ |
กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๕ | ่สนามกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา | ๒๐-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ | ๑๙ |
สรุปผลแข่งขัน
รายการ | เหรียญทอง | เหรียญเงิน | เหรียญทองแดง |
---|---|---|---|
มหกรรมกีฬาคนพิการ | ๕ | ๑ | ๐ |
กีฬาสเปเชียลโอลิมปิกแห่งชาติ | ๒ | ๓ | ๑ |
กีฬาคนพิการ | ๒ | ๓ | ๐ |
กีฬานักเรียนคนพิการ | ๒ | ๓ | ๐ |
กีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ ครั้งทีี่ ๑๗ | ๕ | ๖ | ๔ |
กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ | ๒ | ๑ | ๓ |
กีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๙ | ๔ | ๔ | ๒ |
กีฬาเปตองปากเกร็ดคัพ ครั้งที่ ๕ | ๑ | ๑ | ๐ |
กีฬาการเต้นแอร์โรบิคส์ การแข่งขันทักษะกลไก (MATP) สเปเชียลโอลิมปิค ประเทศไทย | ๐ | ๑ | ๑ |
กีฬาฟุตบอลสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย | ๐ | ๐ | ๑ |
การแข่งขันกรีฑทคนพิการทางปัญญาชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๒ | ๓ | ๗ | ๔ |
กีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๘ | ๑๒ | ๗ | ๑๐ |
กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๕ | ๕ | ๕ | ๒ |